1. ขนาดเล็กจนถึง 1 VA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับ การเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณในงานอิเล็กทรอนิกส์2. ขนาด 1-1000 VA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับ งานด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก3. ขนาด 1 kVA -1 MVA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับ งานจำหน่ายไฟฟ้าในโรงงาน สำนักงาน ที่พักอาศัย4.ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 MVA ขึ้นไป เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับ งานระบบไฟฟ้ากำลัง ในสถานีไฟฟ้าย่อย การผลิตและจ่ายไฟฟ้านอกจากนี้หม้อแปลง ยังสามารถจำแนกชนิดตามจำนวนรอบของขดลวดได้ดังนี้5.หม้อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าเพิ่ม (Step-Up) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบมากกว่าขดลวดปฐมภูมิ6.หม้อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าลง (Step-Down) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบน้อยกว่าปฐมภูมิ7.หม้อแปลงที่มีแทปแยก (Tap) ทำให้มีขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้หลายระดับ ดูรูปที่ 13
รูปที่ 13 หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีแทปแยก (Tap) ด้านทุติยภูมิ
8. หม้อแปลงที่ใช้สำหรับแยกวงจรไฟฟ้าออกจากกัน (Isolating) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบเท่ากัน กับขดลวดปฐมภูมิหรือมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเท่ากันทั้งสองด้านดูรูปที่ 14
รูปที่ 14 หม้อแปลงไฟฟ้าแยกสายกราวด์ ( ) ออกจากระบบไฟฟ้า
9. หม้อแปลงแบบปรับเลื่อนค่าได้ (Variable) ขดลวดทุติยภูมิและปฐมภูมิจะเป็นขดลวดขดเดียวกัน หรือเรียกว่าหม้อแปลงออโต ้ (Autotransformer) ดูรูปที่15(ก)มักใช้กับการปรับขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้กับวงจรไฟฟ้าตามต้องการ และสำหรับวาไรแอค (Variac) นั้นเป็นชื่อเรียกทางการค้าของหม้อแปลง ออโต้ที่สามารถปรับค่าได้ด้วยการเลื่อนแทปขดลวด ดูรูปที่ 15 (ข)
( ก) หม้อแปลงออโต้ (ข) วาไรแอค รูปที่ 15 หม้อแปลงไฟฟ้าแบบปรับเลื่อนค่าได้
10.หม้อแปลงกระแส (CurrentTransformer:CT) ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างที่ต้องต่อร่วมกันในวงจร เดียวกันแต่ต้องการกระแสไฟต่ำหม้อแปลงกระแส จะทำหน้าที่แปลงขนาดกระแสลงตามอัตราส่วนระหว่าง ปฐมภูมิต่อทุติยภูมิเช่น 300 : 5 หรือ 100 : 5 เป็นต้น สำหรับหม้อแปลงกระแส 300 : 5 หมายถึงหม้อแปลงจะจ่ายกระแสทุติยภูมิ 5 A หากได้รับกระแสปฐมภูมิ 300 A หม้อแปลงกระแสจะต้องมีโหลดต่อไว้กับ ทุติยภูมิเพื่อป้องกันทุติยภูมิเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงในขณะที่ปฐมภูมิมีกระแสไฟฟ้าผ่าน และถ้าหม้อแปลงกระแสไม่ได้ใช้งาน ควรใช้สายไฟลัดวงจรหรือ ต่อวงจรไว้กับขั้วทุติยภูมิด้วย
9. หม้อแปลงแบบปรับเลื่อนค่าได้ (Variable) ขดลวดทุติยภูมิและปฐมภูมิจะเป็นขดลวดขดเดียวกัน หรือเรียกว่าหม้อแปลงออโต ้ (Autotransformer) ดูรูปที่15(ก)มักใช้กับการปรับขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้กับวงจรไฟฟ้าตามต้องการ และสำหรับวาไรแอค (Variac) นั้นเป็นชื่อเรียกทางการค้าของหม้อแปลง ออโต้ที่สามารถปรับค่าได้ด้วยการเลื่อนแทปขดลวด ดูรูปที่ 15 (ข)
( ก) หม้อแปลงออโต้ (ข) วาไรแอค รูปที่ 15 หม้อแปลงไฟฟ้าแบบปรับเลื่อนค่าได้
10.หม้อแปลงกระแส (CurrentTransformer:CT) ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างที่ต้องต่อร่วมกันในวงจร เดียวกันแต่ต้องการกระแสไฟต่ำหม้อแปลงกระแส จะทำหน้าที่แปลงขนาดกระแสลงตามอัตราส่วนระหว่าง ปฐมภูมิต่อทุติยภูมิเช่น 300 : 5 หรือ 100 : 5 เป็นต้น สำหรับหม้อแปลงกระแส 300 : 5 หมายถึงหม้อแปลงจะจ่ายกระแสทุติยภูมิ 5 A หากได้รับกระแสปฐมภูมิ 300 A หม้อแปลงกระแสจะต้องมีโหลดต่อไว้กับ ทุติยภูมิเพื่อป้องกันทุติยภูมิเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงในขณะที่ปฐมภูมิมีกระแสไฟฟ้าผ่าน และถ้าหม้อแปลงกระแสไม่ได้ใช้งาน ควรใช้สายไฟลัดวงจรหรือ ต่อวงจรไว้กับขั้วทุติยภูมิด้วย
รูปที่ 16 หม้อแปลงกระแส 300 : 5 ใช้กับการวัดกระแสในระบบ 3 เฟส 380 V 200 A
(ก) ภาพของจริง (ข) วงจรภายใน รูปที่ 17 เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า Clamp on Ammeter
ในระบบไฟฟ้ากำลังที่มีกระแสไฟสูงมักใช้หม้อแปลงกระแสต่อร่วมกับเครื่องวัด ดูรูปที่ 16 เพื่อแปลงกระแสจากปฐมภูมิให้มีปริมาณลดลง ดังนั้นการอ่านค่ากระแสจากทุติยภูมิของเครื่องวัด จะต้องคูณด้วยค่าอัตราส่วนระหว่างปฐมภูมิต่อทุติยภูมิด้วย จึงจะเป็นค่าที่ถูกต้อง
หม้อแปลงกระแสจะมีขดลวดปฐมภูมิขดเดียวหรือหลายขดก็ได้ ในรูปที่ 17 Clamp on Ammeter มีหลักการเดียวกับหม้อแปลงกระแสที่มีการทำงานร่วมกับเครื่องวัด ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านปฐมภูมิจะ มีสภาพเป็นเส้นแรงแม่เหล็กคล้องอยู่บนสายไฟ หากกระแสนี้มีค่ามาก ความหนาแน่นสนามแม่เหล็กก็จะมีค่ามากด้วย เมื่อเรานำแกนเหล็ก (Jaws) ของเครื่องวัดเข้าไปรับเส้นแรงแม่เหล็กบนสายไฟ เส้นแรงแม่เหล็กเหล่านั้นจะเดินทางรอบแกนเหล็กมายังขดลวดทุติยภูมิ ปริมาณกระแสไฟฟ้านี้มีขนาดตามอัตราส่วนระหว่างปฐมภูมิต่อ ทุติยภูมิและชุดตัวต้านทานที่ตั้งค่าไว้ (Ammeter Shunt) แล้วผ่านวงจรแปลงไฟสลับเป็นไฟตรงเพื่อให้แอมมิเตอร์ไฟตรงอ่านค่าที่วัดได้
สำหรับการต่อหม้อแปลงกระแส (Current Transformer) และหม้อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้า (Potential Transformer) เพื่อวัดไฟฟ้าในระบบควบคุมที่ตู้จ่ายไฟของโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงาน ร้านค้า และอาคารบ้านพักอาศัย แสดง ในรูปที่ 18 เป็นตัวอย่างการต่อวงจรของเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า (Ammeter), กำลังไฟฟ้า (Wattmeter), พลังงานไฟฟ้า (Watthour Meter) และแรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltmeter)
ในระบบไฟฟ้ากำลังที่มีกระแสไฟสูงมักใช้หม้อแปลงกระแสต่อร่วมกับเครื่องวัด ดูรูปที่ 16 เพื่อแปลงกระแสจากปฐมภูมิให้มีปริมาณลดลง ดังนั้นการอ่านค่ากระแสจากทุติยภูมิของเครื่องวัด จะต้องคูณด้วยค่าอัตราส่วนระหว่างปฐมภูมิต่อทุติยภูมิด้วย จึงจะเป็นค่าที่ถูกต้อง
หม้อแปลงกระแสจะมีขดลวดปฐมภูมิขดเดียวหรือหลายขดก็ได้ ในรูปที่ 17 Clamp on Ammeter มีหลักการเดียวกับหม้อแปลงกระแสที่มีการทำงานร่วมกับเครื่องวัด ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านปฐมภูมิจะ มีสภาพเป็นเส้นแรงแม่เหล็กคล้องอยู่บนสายไฟ หากกระแสนี้มีค่ามาก ความหนาแน่นสนามแม่เหล็กก็จะมีค่ามากด้วย เมื่อเรานำแกนเหล็ก (Jaws) ของเครื่องวัดเข้าไปรับเส้นแรงแม่เหล็กบนสายไฟ เส้นแรงแม่เหล็กเหล่านั้นจะเดินทางรอบแกนเหล็กมายังขดลวดทุติยภูมิ ปริมาณกระแสไฟฟ้านี้มีขนาดตามอัตราส่วนระหว่างปฐมภูมิต่อ ทุติยภูมิและชุดตัวต้านทานที่ตั้งค่าไว้ (Ammeter Shunt) แล้วผ่านวงจรแปลงไฟสลับเป็นไฟตรงเพื่อให้แอมมิเตอร์ไฟตรงอ่านค่าที่วัดได้
สำหรับการต่อหม้อแปลงกระแส (Current Transformer) และหม้อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้า (Potential Transformer) เพื่อวัดไฟฟ้าในระบบควบคุมที่ตู้จ่ายไฟของโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงาน ร้านค้า และอาคารบ้านพักอาศัย แสดง ในรูปที่ 18 เป็นตัวอย่างการต่อวงจรของเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า (Ammeter), กำลังไฟฟ้า (Wattmeter), พลังงานไฟฟ้า (Watthour Meter) และแรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltmeter)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น