BY C. SOPHON 50291241 class: C

WELLCOME TO THE HOUSE OF TRANSFORMER

ค่าสัมประสิทธิ์ความเหนี่ยวนำ (k)

ค่าสัมประสิทธิ์ความเหนี่ยวนำ ( k) แรงดันไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำข้ามไปยังขดลวดทุติยภูมินั้น ขึ้นอยู่กับค่าความเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นระหว่างขดลวดปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ซึ่งจะถูกกำหนดโดยจำนวนเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดจาก ขดลวดด้านปฐมภูมิเคลื่อนที่ไปตัดกับขดลวด ด้านทุติยภูมิ อัตราส่วนระหว่างจำนวนเส้นแรงแม่เหล็ก ที่เคลื่อนที่ไปตัดกับขดลวดทุติยภูมิเปรียบเทียบกับจำนวนเส้นแรง แม่เหล็ก ทั้งหมดที่เกิดจากขดลวดปฐมภูมิเรียกว่า สัมประสิทธิ์ความเหนี่ยวนำ ( Coefficient of Coupling, k) ซึ่งจะ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1

ตัวอย่างเช่น ถ้าเส้นแรงแม่เหล็กทั้งหมดที่เกิดจาก ขดลวดปฐมภูมิเคลื่อนที่ไปตัดกับขดลวดทุติยภูมิ ค่าสัมประสิทธิ์ ความเหนี่ยวนำจะมีค่าเท่ากับ 1 แต่ถ้ามีจำนวนเส้นแรงแม่เหล็กเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่เคลื่อนที่ไปตัดกับขดลวด ทางด้านทุติยภูมิ ค่าสัมประสิทธิ์ความเหนี่ยวนำที่ได้ก็จะมีค่าเท่ากับ 0.5
ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์ความเหนี่ยวนำ มีดังนี้
1. ระยะห่างระหว่างขดลวดปฐมภูมิ และขดลวดทุติยภูมิ 2. ชนิดของแกนที่ใช้พันขดลวด จากรูป แสดงระยะห่างของขดลวดปฐมภูมิ และขดลวดทุติยภูมิที่มีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์ความเหนี่ยวนำ

การใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้า
โดยทั่วไปแล้วหม้อแปลงไฟฟ้าจะใช้งานอยู่ 3 แบบ ได้แก่ 1. หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้เพื่อเพิ่ม หรือลดขนาดแรงดันไฟฟ้า 2. หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้เพื่อเพิ่ม หรือลดปริมาณกระแสไฟฟ้า 3. หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้เพื่อแมทช์ค่าอิมพีแดนซ์ ( Impedances) ซึ่งทั้ง 3 กรณี สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนจำนวนรอบ ( Turns Ratio) ของขดลวดปฐมภูมิเปรียบเทียบ กับจำนวนขดลวดทุติยภูมิ
อัตราส่วนจำนวนรอบ ( Turns Ratio) อัตราส่วนจำนวนรอบ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างจำนวนรอบของขดลวด ทุติยภูมิ ( NS) ต่อจำนวนรอบของขดลวดปฐมภูมิ ( NP)
ตัวอย่าง หม้อแปลงไฟฟ้ามีจำนวนขดลวดปฐมภูมิเท่ากับ 200 รอบ และขดลวดทุติยภูมิเท่ากับ 600 รอบ จงคำนวณหาอัตราส่วน จำนวนรอบ ( Turns Ratio) ของหม้อแปลงไฟฟ้านี้



ในกรณีนี้จะเห็นว่า จะต้องใช้จำนวนขดลวดทางด้านทุติยภูมิจำนวน 3 ขด ต่อขดลวดทางด้านปฐมภูมิ 1 ขด ซึ่งการ เพิ่มจำนวนรอบจากน้อย ( 1 รอบ) ไปจำนวนมากรอบ ( 3 รอบ) จะหมายถึง การทำให้ค่า " Step Up" ซึ่งผลลัพธ์ของอัตรา ส่วนจำนวนรอบ ( Turns Ratio) ที่ได้จะมีค่ามากกว่า 1
ตัวอย่าง ถ้าหม้อแปลงไฟฟ้ามีจำนวนขดลวดปฐมภูมิ 120 รอบ และขดลวดทุติยภูมิ 30 รอบ อัตราส่วนจำนวนรอบ ( Turns Ratio) ของหม้อแปลงไฟฟ้านี้เป็นเท่าใด














ซึ่งในกรณีนี้จะต้องใช้จำนวนขดลวดปฐมภูมิ 4 ขด ต่อขดลวดทุติยภูมิ 1 ขด การเปลี่ยนแปลงจำนวนรอบจากมาก ( 4 รอบ) ไปจำนวนรอบน้อย ( 1 รอบ) หมายถึง การทำให้ค่า "Step Down" ซึ่งผลลัพธ์ของอัตราส่วนจำนวนรอบ ( Turns Ratio) ที่ได้จะมีค่าน้อยกว่า 1

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น